System
Last updated
Was this helpful?
Last updated
Was this helpful?
System Status มีไว้เพื่อ Monitor Status ของ Server แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ Hardware Status , Service Status , Network Connection
วิธีเข้าหน้า System Status
รายละเอียดหน้า System Status
หน้า System Status จะแสดง รายละเอียดการใช้งาน Resource , Service , Network connection ของระบบรวมถึงการสั่ง Shutdown , Restart Server โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
System Name เพื่อแสดงชื่อของระบบรวมถึงการสั่งปิดระบบหรือเริ่มระบบใหม่
ตั้งชื่อ Server
System name: ตั้งชื่อของระบบ
Shutdown Server: สั่งปิดระบบ
Restart Server: สั่งเริ่มระบบใหม่
2. Hardware Status แสดงข้อมูลการใช้ Resource ของระบบ
รูปภาพที่ 179 แสดงการใช้งาน Resource ต่าง ๆ ของระบบ
CPU: แสดงการใช้งานหน่วยเป็น %
HDD: แสดงการใช้งาน HDD คิดเป็น %
Process Count: แสดง Process ที่กำลังใช้งานอยู่
Session Count: แสดง Session ทั้งหมดที่ระบบกำลังใช้งานอยู่
Ram Total: จำนวน Ram ทั้งหมดในระบบ
Ram Usage: จำนวน Ram ที่ระบบใช้งานอยู่
Ram Free: จำนวน Ram ที่ยังไม่ถูกใช้งาน
Ram Cache: Ram ที่ถูกจองไว้ใช้งาน
HDD Total: จำนวน Hard disk ทั้งหมดในระบบ
HDD Usage: จำนวน Hard disk ที่ระบบใช้งานอยู่
HDD Free: จำนวน Hard disk ที่ยังไม่ถูกใช้งาน
3. Service Status แสดงสถานะ service ต่าง ๆ ของระบบมีรายละเอียดดังนี้
Service status
On แสดงว่า Service ใช้งานได้ปกติ
Off แสดงว่า Service ใช้งานไม่ได้
Start: เอาไว้สั่งเริ่ม service ในกรณีที่ service นั้น down ถ้า service นั้น On อยู่จะไม่สามารถกดได้
Stop: เอาไว้สั่งหยุดการทำงานของ service ซึ่งมีเฉพาะใน dhcpd เท่านั้น
Restart: เอาไว้สั่ง Restart service ในกรณีที่ Service นั้นค้าง
4. Network Connection แสดงสถานะการเชื่อมต่อของ Server สามารถดูรายละเอียดการเชื่อมต่อและความเร็วสูงสุดที่รองรับได้
Network Connection
หน้า Software License มีไว้เพื่อแก้ไขและตรวจสอบข้อมูล License และชื่อของระบบ
วิธีเข้าหน้า Software License
หน้า Software License
รายละเอียดหน้า Software License
หน้า Software License แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
Software Version: ในส่วนนี้จะแสดงเวอร์ชันของซอฟแวร์ โดยผู้ดูแลสามารถแก้ไขชื่อของระบบได้ในหน้านี้ (การแก้ไขชื่อของระบบ ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบ)
Software License: Software Version
2. Last Update: วันที่อัพเดตล่าสุด
3. Current License: ในส่วนนี้จะแสดงข้อมูลของ License ปัจจุบัน
3.1 Current System Hash: รหัสของอุปกรณ์ Hardware
3.2 Start Date: วันที่ License นี้สามารถเริ่มใช้งานได้
3.3 Expire Date: วันที่ License นี้จะหมดอายุ
3.4 Concurrent: จำนวนผู้ใช้งานในระบบสูงสุด
3.5 System Hash: รหัสของอุปกรณ์ Hardware สำหรับ License นี้ (License จะทำงานได้ Current System Hash และ System Hash ต้องตรงกัน)
Software License: Current License
4. Upload New License: ช่องสำหรับ Upload License ใหม่ให้ระบบ
Software License: Upload New License
หน้า Database Management มีไว้เพื่อทำการ Download Database และทำการกู้คืน Database รวมทั้งสามารถลบข้อมูล Log เก่าๆได้
วิธีเข้าหน้า Database Management
หน้า Database Management
รายละเอียดหน้า Database Management
หน้า Database Management ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้
Download & Restore Database: ในส่วนนี้จะเป็นส่วนจัดการฐานข้อมูล โดยผู้ดูแลสามารถ Download Database มาเก็บไว้ และทำการ Restore Database เพื่อเปลี่ยนข้อมูลใน Database กลับเป็นของช่วงเวลาก่อนหน้าได้
1.1 Download Current Database: ปุ่มสำหรับ Download Database ในปัจจุบัน
1.2 Download Database: ปุ่มสำหรับ Download Database ที่ระบบสำรองไว้ในแต่ละวัน
1.3 MD5: รหัส MD5 ของข้อมูลที่ระบบเป็นไว้เมื่อสร้างข้อมูล หากรหัส MD5 ของข้อมูลที่ Download ไม่ตรงกับค่าที่แสดงอยู่ หมายความว่าการ Download ข้อมูลมีปัญหา หรือข้อมูลได้ถูกแก้ไข
1.4 Restore Database: ช่องสำหรับ Upload Database ที่ต้องการใช้เป็น Database ปัจจุบัน
Database Management: Download & Restore Database
2. Clear Transaction: ในส่วนนี้จะเป็นตารางแสดงข้อมูล Transaction ที่อยู่ในระบบเป็นเวลานาน ใช้สำหรับลบข้อมูลเก่าๆ เพื่อกู้คืนพื้นที่ความจำของระบบ และช่วยให้การค้นหาข้อมูลที่เหลือเป็นไปได้เร็วขึ้น
2.1 Select Transaction Days: ช่องสำหรับเลือกระยะเวลาที่ถือว่าเป็นข้อมูลเก่า โดยสามารถเลือกได้เร็วสุด [นานเกิน 60 วัน] และช้าสุด [นานเกิน 365 วัน]
2.2 Select Transaction Days Result: กรอบแสดงผลลัพธ์ของการสืบค้นข้อมูล โดยจะแสดงจำนวนข้อมูลทั้งหมดที่พบ
2.3 Old Transaction Table: ตารางแสดงข้อมูลที่เข้าข่ายเป็นข้อมูลเก่าที่กำลังจะถูกลบ สามารถใช้ตรวจทานข้อมูลก่อนที่จะลบ
Database Management: Clear Transaction
หน้า Officer Group มีไว้เพื่อแสดงกลุ่มของ Officer ในระบบ โดยกลุ่มของ Officer จะมีหน้าที่ในการกำหนดสิทธิของ Officer ในกลุ่ม Officer ที่ไม่มีสิทธิจะไม่สามารถเห็นหน้านั้นในแถบเมนู
วิธีเข้าหน้า Officer Group
หน้า Officer Group
รายละเอียดหน้า Officer Group
หน้า Officer Group แสดงตารางข้อมูล Officer Group ที่อยู่ในระบบ โดยข้อมูลในตารางมีดังนี้
Group Name: แสดงชื่อของ Officer Group นี้
Group Description: แสดงคำอธิบาย Officer Group นี้
Privilege: แสดงสิทธิของ Officer Group นี้อย่างคร่าวๆ
3.1 แถบขึ้นเป็นสีเขียว: Officer ในกลุ่มนี้มีสิทธิในการเข้าถึงทุกหน้าของแถบย่อยนี้
3.2 แถบขึ้นเป็นสีเหลือง: Officer ในกลุ่มนี้มีสิทธิในการเข้าถึงบางหน้าของแถบย่อยนี้
3.3 แถบขึ้นเป็นสีแดง: Officer ในกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงแถบย่อยนี้แม้แต่หน้าเดียว
Action: ปุ่มสำหรับจัดการมีสองปุ่มได้แก่ Edit และ Delete (Group DEFAULT ADMIN ไม่มีปุ่มเหล่านี้)
Officer Group Edit
เป็นหน้าที่แสดงขึ้นมาหลังจากกดปุ่ม Edit Officer Group สามารถใช้แก้ไขรายละเอียดของหน้าเหมือนกับหน้า Officer Group Create
หน้า Officer Group Edit
Officer Group Create
หน้า Officer Group Create เป็นหน้าสำหรับสร้าง Officer Group ขึ้นมาใหม่ โดย Officer Group จะมีไว้เพื่อกำหนดสิทธิของ Officer ที่อยู่ใน Group Officer ที่ไม่มีสิทธิจะมองไม่เห็นหน้านั้นในแถบเมนู
หน้า Officer Group Create
หน้า Officer Group Create
รายละเอียดหน้า Officer Group Create
Group Name: กำดหนดชื่อของ Officer Group ที่ต้องการจะสร้าง
Description: กำหนดคำอธิบาย Officer Group
Privilege: กำหนดสิทธิของ Officer ในกลุ่ม มีให้เลือกสำหรับทุกหน้าในเมนู โดย Officer ที่ไม่มีสิทธิ จะไม่สามารถเห็นหน้านั้นๆ ในเมนูได้
หน้า Officer มีไว้เพื่อแสดง Officer ในระบบ โดยสามารถแก้ไขข้อมูลเพิ่มหรือลบ Officer ที่สร้างไว้แล้วได้
วิธีเข้าหน้า Officer
หน้า Officer
รายละเอียดหน้า Officer
หลังจากติดตั้ง software ระบบจะดำเนินการสร้าง Officer ที่เป็นค่าตั้งต้นของระบบให้ 2 ผู้ใช้งาน โดยอัตโนมัติ คือ admin และ logadmin ซี่งจะมีรายละเอียดดังนี้
ชื่อ Officer
การเข้าถึง
Officer Group
Default Password
admin
ฟังก์ชั่นในส่วนของ admin ของระบบทั้งหมด
Default admin
imsi
logadmin
ฟังก์ชั่นในส่วนของการจัดเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ และ User transaction
Log admin (ไม่สามารถสร้างเพิ่มได้)
imsi
ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามมาตฐาน ตาม พรบ คอมพิวเตอร์ กำหนดให้ ผู้ดูและระบบ (admin) และผู้ดูแลข้อมูล (logadmin) ควรเป็นคนละบุคคลกัน เพื่อปัองกันการเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ ระบบจึงแยก admin ออกเป็น 2 ส่วนในส่วนของการจัดการระบบทั้งหมด เช่น สร้าง ลบ แก้ไข ผู้ใช้งาน และดูรายงานต่างๆ สามารถสร้างกลุ่มของผู้ดูแลระบบเพิ่มได้ แต่ในส่วนของการเข้าถึงข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์จะสามารถเข้าได้โดย logadmin เท่านั้น ตารางข้อมูล Officer ที่อยู่ในระบบ โดยข้อมูลในตารางมีดังนี้
Officer Username: แสดงข้อมูล Username ของ Officer
Officer Name: แสดงข้อมูลชื่อของผู้ดูแลระบบ
Officer Email: แสดงข้อมูล Email ของผู้ดูแลระบบ
Officer Group: แสดง Officer Group ที่ Officer นี้สังกัดอยู่
Registration Date: แสดงวันเวลาที่ Officer นี้ถูกสร้าง
Action: ปุ่มสำหรับจัดการมี 2 ปุ่มได้แก่ Edit และ Delete (DEFAULT ADMIN ไม่สามารถลบได้)
Officer Edit
เป็นหน้าที่แสดงขึ้นมาหลังจากกดปุ่ม Edit Officer สามารถใช้แก้ไขรายละเอียดของหน้าเหมือนกับหน้า Officer Create
หน้า Officer: Officer Edit
Alert Configuration มีไว้เพื่อสำหรับตั้งค่าการแจ้งเตือนในกรณีที่ระบบมีปัญหาโดยจะมีการแจ้งเตือนผ่าน Line Notification กับ Email Notification
วิธีเข้าหน้า Alert Configuration
Alert Configuration มีด้วยกันทั้งหมด 3 หน้าด้วยกันโดยมีรายละเอียดดังนี้
หน้า Alert Configuration มีไว้เพื่อตั้งค่าจะให้แจ้งเตือนอะไรบ้างตามรูปภาพที่ 201
รายละเอียดหน้า Alert Configuration
รายละเอียดหน้า Alert Configuration
2. Line Notification มีไว้เพื่อสำหรับแจ้งเตือนในกรณีที่ Server Down หรือ บาง Service Down ลงไประบบจะส่ง Line Alert ไปยังกลุ่มตามที่ได้เพิ่ม Token ไว้
วิธีเข้าหน้า Line Notification
รายละเอียดหน้า Line Notification
หน้า Line Notification รายละเอียดดังต่อไปนี้
รายละเอียด Line Notification
3. Email Notification มีไว้เพื่อสำหรับแจ้งเตือนในกรณีที่ Server Down หรือ บาง Service Down ลงไประบบจะส่ง Email ไปตาม Email ที่ได้เพิ่มไว้
วิธีเข้าหน้า Email Notification
รายละเอียดหน้า Email Notification
หน้า Email Notification รายละเอียดดังต่อไปนี้
รายละเอียด Email Notification
ตัวอย่าง Alert Message และความหมาย
Alert Message
ความหมาย
เงื่อนไขที่แจ้งเตือน
ตัวอย่าง
ความหมาย
Servername [down/up] at time
แจ้งเตือนกรณี Server DOWN หรือ UP
Server ไม่มีการส่งข้อมูลมาที่ระบบ Alert บน Cloud เป็นระยะเวลาเกิน 15 นาที
The Pizza [down] at 2019-01-12 14:01:00
Server the Pizza down เมื่อวันที่ 12 เดือน 1 ปี 2019 เวลา 14:01
service name : down
แจ้งเตือนเนื่องจาก Service บางส่วนของระบบหยุดทำงาน service ที่ตรวจสอบได้แก่ polymathd = Authentication proces httpd = Web server mysqld = Database servrer dhcpd = DHCP server rsyslog = Log server
Service ที่ตรวจสอบหยุดทำงาน
polymathd service: down
service polymathd ไม่ทำงาน
network interface :down
แจ้งเตือนไม่พบการเชื่อมต่อ Network Interface ของระบบ
ไม่พบการใช้งาน Network Interface ดังกล่าว
eth0: down
Network Interface eth0 ไม่สามารถใช้งานได้
Cpu_use: XX%
CPU ของระบบมีการทำงานหนัก โดยทำงาน XX% จากประสิทธิภาพทั้งหมด [cpu 1 core ประสิทธิภาพสูงสุด 100%]
CPU มีการทำงานเกิน 300%
Cpu_use: 345%
CPU มีการทำงานหนักคิดเป็น 380% ของประสิทธิภาพทั้งหมด
Memory_use: XX%
RAM ของระบบถูกใช้งานหนัก โดยใช้งานไปแล้ว XX%
RAM ถูกใช้งานเกิน 80%
Memory_use: 92%
RAM ถูกใช้งานหนัก โดยใช้งานไปแล้ว 92%
Hdd_use : XX%
HDD ของระบบถูกใช้งานหนัก โดยใช้งานไปแล้ว XX%
HDD ถูกใช้งานเกิน 70%
Hdd use: 86%
Hard disk ถูกใช้งานไปแล้ว 86%
TIME WAIT : XXXX
ในระบบพบว่า TCP มีการเข้าสู่ 'TIME WAIT' มากผิดปกติ มักเกิดจากการโดน DDOS ด้วย SYNC Flood
TCP มีการเข้าสู่ 'TIME WAIT' State มากกว่า 5000 connection
TIME WAIT: 7668
มีปริมาณ 'TIME WAIT' 7668 Connection
Netfilter ratio more than XX%
ระบบปริมาณ Connection เกินค่าที่กำหนด
ปริมาณ Connection มากกว่าค่าที่ตั้งไว้เกิน 80%
Netfilter ratio more than 81 %
ระบบมีการคัดกรองข้อมูลมากกว่า 81%
ตารางที่ 1 แสดงรายละเอียดข้อความการแจ้งเตือน
หน้า Block Website มีไว้เพื่อทำการห้ามไม่ให้ผู้ใช้งานในระบบเข้าถึง URL หรือ IP บางกลุ่มโดยเฉพาะ
วิธีเข้าหน้า Block Website
หน้า Block Website
รายละเอียดหน้า Block Website
หน้า Block Website แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วน Block Website: ใช้สำหรับเพิ่ม URL หรือ IP Website ที่ไม่ต้องการให้มีผู้ใช้งานเข้า โดยสามารถเลือกได้ว่าจะกรอกเป้าหมายเป็น URL หรือ IP Address
*หมายเหตุ* ไม่สามารถ Block Website ที่มีหลาย IP Address ด้วย URL ได้
2. ตาราง Block Website: แสดง Website ที่โดน Block อยู่ในปัจจุบัน รายละเอียดตารางมีดังนี้
2.1 URL Website: แสดง URL หรือ IP Address ที่โดน Block
2.2 Block by Officer: แสดงชื่อ Officer ที่ทำการ Block
2.3 Block Time: แสดงวันเวลาที่ Block
2.4 Unblock: ปุ่มสำหรับยกเลิกการ Block
หน้า Wall Garden มีไว้เพื่ออนุญาตให้ผู้ใช้งานเข้าถึง URL หรือ IP บางกลุ่มได้โดยไม่ต้องเข้าสู่ระบบก่อน
วิธีเข้าหน้า Wall Garden
หน้า Wall Garden
รายละเอียดหน้า Wall Garden
หน้า Wall Garden แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วน Allow Website: ใช้สำหรับเพิ่ม URL หรือ IP Website ที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานเข้าถึงได้โดยไม่ต้องเข้าสู่ระบบ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะกรอกเป้าหมายเป็น URL หรือ IP Address
*หมายเหตุ* ไม่สามารถ Allow Website ที่มีหลาย IP Address ด้วย URL ได้
2. ตาราง Allow Website: แสดง Website ที่อนุญาตให้เข้าถึงโดยไม่ต้องเข้าสู่ระบบในปัจจุบัน รายละเอียดตารางมีดังนี้
2.1 URL Website: แสดง URL หรือ IP Address ที่อนุญาต
2.2 Allow by Officer: แสดงชื่อ Officer ที่ทำการอนุญาต
2.3 Allow Time: แสดงวันเวลาที่อนุญาต
2.4 Unblock: ปุ่มสำหรับยกเลิกการอนุญาต
หน้า Bypass IP มีไว้เพื่อทำการอนุญาตให้ผู้ใช้งานบางกลุ่มสามารถใช้งานระบบได้โดยไม่ต้องเข้าสู่ระบบ
วิธีเข้าหน้า Bypass IP
หน้า Bypass IP
รายละเอียดหน้า Bypass IP
หน้า Bypass IP แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วน Bypass IP: ใช้สำหรับ Bypass เพิ่มเติม โดยเริ่มกรอก IP Address ที่ต้องการ Bypass (อุปกรณ์ที่ต้องการ Bypass ต้องเชื่อมต่อและได้รับ IP อยู่ และเมื่อ Bypass สำเร็จจะไม่สามารถเปลี่ยน IP ได้)
1.1 เมื่อกรอก IP เรียบร้อยแล้วให้กดปุ่ม GET MAC เพื่อค้นหา MAC Address ของอุปกรณ์ที่ต้องการ Bypass หากค้นเจอให้กดปุ่ม Bypass เพื่อยืนยันการ Bypass (หากค้นหาไม่สำเร็จจะไม่สามารถ Bypass ได้)
Bypass IP: เมื่อค้นหา MAC Address สำเร็จ
2. ตาราง Bypass IP: แสดง IP Address ที่สามารถใช้งานระบบได้โดยไม่ต้องเข้าสู่ระบบรายละเอียดข้อมูลในตารางมีดังนี้
2.1 IP Address: แสดง IP Address ที่อนุญาต
2.2 MAC Address: แสดง MAC Address ที่ใช้งาน IP Address
2.3 Allow by Officer: แสดงชื่อ Officer ที่อนุญาต
2.4 Allow Time: แสดงวันเวลาที่อนุญาต
2.5 Remove: ปุ่มสำหรับยกเลิกการอนุญาต
หน้า MAC Blacklist มีไว้สำหรับห้ามไม่ให้บาง MAC Address ใช้งานระบบ
วิธีเข้าหน้า MAC Blacklist
หน้า MAC Blacklist
รายละเอียดหน้า MAC Blacklist
หน้า MAC Blacklist แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วน Block MAC Address: ใช้สำหรับเพิ่ม MAC Address ที่ไม่ต้องการให้ใช้งานระบบ
ตาราง MAC Blacklist: แสดง MAC Address ที่โดน Block ในปัจจุบัน รายละเอียดตารางมีดังนี้
2.1 MAC Address: แสดง MAC Address ที่โดนห้ามใช้งาน
2.2 Allow by Officer: แสดงชื่อ Officer ที่ห้าม
2.3 Allow Time: แสดงวันเวลาที่เริ่มห้าม
2.4 Remove: ปุ่มสำหรับยกเลิกการห้าม
หน้า Routing เป็นหน้าสำหรับจัดการตั้งค่า Routing ในระบบ โดยสามารถแก้ไขเพิ่มหรือลบ Routing ในระบบได้ในหน้านี้
วิธีเข้าหน้า Routing
หน้า Routing
รายละเอียดหน้า Routing
หน้า Routing จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนสำหรับเพิ่ม Routing ใหม่: โดยจะมีช่องสำหรับกรอกข้อมูล Routing ที่ต้องการเพิ่ม เมื่อกรอกเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Add รายละเอียดข้อมูลมีดังนี้
1.1 Destination: กำหนดปลายทางที่ต้องการนำทาง
1.2 Netmask: กำหนดขอบเขตของปลายทาง
1.3 Gateway: กำหนดทางไปต่อในรูปแบบ IP Address
1.4 Metric: กำหนดน้ำหนักของการนำทาง
1.5 Interface: กำหนดทางไปต่อในรูปแบบ Interface
Routing: ส่วนสำหรับเพิ่ม Routing
2. ตารางแสดง Routing: แสดง Routing ในปัจจุบันโดย Routing ที่ผู้ดูแลเพิ่มจะมีปุ่มสำหรับลบ Routing (Routing ที่ระบบต้องใช้จะไม่สามารถลบได้) รายละเอียดตารางมีดังนี้
2.1 Destination: ปลายทางที่ถูกนำทาง
2.2 Netmask: ขอบเขตของปลายทาง
2.3 Via: ทางไปต่อในรูปแบบ IP Address
2.4 Metric: น้ำหนักของการนำทาง
2.5 Interface: ทางไปต่อในรูปแบบ Interface
2.6 Remove: ปุ่มสำหรับลบ Routing
Routing: ตารางแสดง Routing
หน้า DNS นี้มีไว้เพิ่มกำหนด DNS ของระบบ
วิธีเข้าหน้า DNS
หน้า DNS
รายละเอียดหน้า DNS
หน้า DNS มีช่องสำหรับใส่ DNS Server ที่ต้องการใช้ทั้งหมด 2 ช่อง โดยทั้ง 2 ช่องรับ IP Address ของ DNS Server ที่ต้องการใช้
Primary DNS: เป็น Server แรกที่ระบบใช้ค้นหา IP Address ของ URL
Secondary DNS: เป็น Server สำรองสำหรับค้นหา IP Address ในกรณีที่ Primary DNS ไม่สามารถตอบได้ ทำงานช้า หรือหยุดทำงาน
หน้า NTP เป็นหน้าสำหรับแก้ไข Server NTP สำหรับระบบ
วิธีเข้าหน้า NTP
หน้า NTP
รายละเอียดหน้า NTP
หน้า NTP จะมีช่องสำหรับใส่ IP Address ของ NTP Server ที่ต้องการใช้ เมื่อกรอกเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Save เพื่อเปลี่ยน Server NTP ด้านล่างจะเป็นตารางแสดงข้อมูล NTP Server ในปัจจุบัน
หลังจากเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายแล้วระบบไม่แสดง Captive Portal สำหรับการ Login เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตระบบมีสาเหตุจากการตั้งค่าอุปกรณ์ที่พบบ่อยมีดังนี้
- เชื่อมต่อไปยังเครือข่ายที่ไม่ถูกต้อง ให้ตรวจสอบการว่าเครื่อข่ายที่เชื่อมต่อถูกต้องหรือไม่
- มีการตั้งค่าอุปกรณ์เป็น Fix IP Address ให้แก้ไขการตั้งค่าอุปกรณ์เป็นแบบ DHCP
- เกิดปัญหาจาก Operating System ให้แก้ไขโดย ทดสอบเชื่อมต่อ WIFI ใหม่ หรือ เลือก Forget network ที่เชื่อมต่อและทดสอบเชื่อมต่ออีกครั้ง
หน้า Forget Network
- เปลี่ยนวิธีการ Login จาก Captive Portal โดยทดสอบการเชื่อมต่อผ่าน Web Browser แทนโดยหลังจากเชื่อมต่อ WIFI แล้วให้เปิดใช้งาน Web Browser เช่น Firefox , Google Chrome , Microsoft Edge จากนั้นให้พิมพ์ 2.2.2.2 ที่หน้าต่าง URL เพื่อเชื่อมต่อเข้าระบบ
แสดงหน้า login เมื่อพิมพ์ 2.2.2.2 ที่หน้า URL
2. ผู้ใช้งานพบหน้าต่าง Certificate Error หรือ ไม่พบหน้าต่างสำหรับ Login กรณีที่ผู้ใช้งาน Login ผ่าน Web Browser (พบในอุปกรณ์บางรุ่นที่ไม่สนับสนุน Captive Portal เช่น Windows 7 )จะ
- แก้ไข Certificate error โดยเข้า web site ที่เป็น http แทน https เช่น www.idio-tech.com
- เลือกบังคับให้ web Browser เชื่อมต่อถึงแม้ว่า Certificate ไม่ถูกต้อง
3. ไม่ได้รับ IP Address เมื่อเชื่อมต่อระบบ
- ตรวจสอบว่าเชื่อมต่อเครื่อข่ายที่ถูกต้อง
- ตรวจสอบ และ Restart DHCP service โดยไปเข้าสู่ระบบ admin และไปที่ เมนูดังนี้
system status -> service status -> dhcpd -> restart
แสดงปุ่ม start/stop/restart service dhcpd
- กรณีที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากสาเหตุอาจเกิดจา DHCP Pool ไม่เพียงพอให้ดำเนินการเพิ่ม DHCP Pool จากที่เคยตั้งค่าไว้เดิม (ดูวิธีการเพิ่มเติมได้จาก หัวข้อ VLAN Create และ VLAN List)
4. พบ Error 111 หลังจากการ Login เข้าสู่ระบบ สาเหตุเกิดจาก Service polymathd ซึ่งใช้งานสำหรับการยืนยันตัวตนหยุดทำงาน มีสาเหตุได้ดังนี้
แสดง error เนื่องจาก service polymathd down
- License หมดอายุให้ตรวจสอบสถานะ License ของโปรแกรม
- Service mariadb หรือ Polymathd ทำงานผิดปกติแก้ไขเบื้องต้นโดยการ Restart service โดยให้เข้าไปยังหน้า admin และ restart service ดังนี้
- system status -> service status -> mariadb -> restart
- system status -> service status -> polymathd -> restart
แสดงปุ่ม start/restart service polymathd , database
- กรณีที่แก้ไขเบื้องต้นแล้วไม่สามารถใช้งานได้ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ Support ของบริษัท
5. ผู้ใช้งานการ Logout ออกจากระบบแต่ปิดหน้าต่างที่ใช้ Logout ไปแล้ว หรือ กรณีที่ผู้ใช้งานใช้งานจากระบบ android เมื่อระบบมีการ Login สำเร็จ Captive portal ของระบบ Android จะดำเนินการปิดหน้าต่างสำหรับ Logout อัตโนมัติ
- เรียกคืนหน้าต่างสำหรับ Logout ได้โดยเปิด Web Browser เข้า URL 2.2.2.2 หรือ captive.imsi-cloud.com ระบบจะเรียกหน้าต่างสำหรับ Logout กลับมาโดยอัตโนมัติ
แสดงปุ่ม รูปหน้า logout เมื่อพิมพ์ URL 2.2.2.2
เข้าเว็บ https://notify-bot.line.me/th/ แล้วกดเข้าสู่ระบบ
แสดงการเข้าสู่ระบบ Line notify
หลังจากนั้น Login ด้วยบัญชี Line
แสดงหน้า login เข้าสู่ระบบ
หลังจากเข้าสู่ระบบสำเร็จ ให้กดที่ลูกศรชี้ลงด้านข้างชื่อบัญชีแล้วเลือก หน้าของฉัน
แสดงหน้าของฉัน
จากนั้นทำการกดที่ปุ่ม “ออก Token”
วิธีการออก token
จากนั้นใส่
ใส่ชื่อของ Token
เลือกห้องแชทที่ต้องการให้แจ้งเตือน
กดออก Token
แสดงรายละเอียดการกรอกข้อมูลเพื่อสร้าง Token
ทำการ copy token key เก็บไว้ ก่อนปิด popup ไม่งั้นจะต้องออก token key ใหม่ หลังจากที่ได้ Token key มาแล้วก็เอาไปแอดในระบบ Line Alert