Authentication
อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการสร้าง Zone และ VLAN Template สำหรับ Login ของระบบ
Last updated
อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการสร้าง Zone และ VLAN Template สำหรับ Login ของระบบ
Last updated
หน้า Authentication Overview มีไว้เพื่อแสดงโครงสร้างการทำงานของระบบในรูปแบบรูปภาพ เพื่อสร้างความเข้าใจด้านโครงสร้างภายในและการเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลภายในระบบ
วิธีเข้าหน้า Authentication Overview
หน้า Authentication Overview
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
Zone: ในแต่ละ Zone สามารถมีได้หลาย VLAN แต่มีได้แค่หนึ่ง Template โดยในแต่ละ Zone ไม่สามารถมี VLAN ซ้ำกันได้ แต่สามารถมี Template ซ้ำกันได้
VLAN: ในแต่ละ VLAN จะคู่กับหนึ่งวง DHCP โดยไม่สามารถผูกเข้ากับ DHCP ที่เคยผูกไว้ก่อนแล้วได้ สามารถตั้งค่า Static IP ได้ใน VLAN List
Template: ในแต่ละ Template สามารถเลือกกำหนดการใช้งาน Package แบบต่างๆ ได้ เช่นกำหนดให้บาง Package เท่านั้นถึงจะสามารถ Login ได้ใน Template หนึ่ง แต่อีก Template นั้นสามารถใช้ Package อะไรก็ได้
Package: แต่ละ Package จะสามารถเลือกที่จะผูกอยู่กับ External Databases ได้ หากเลือกผูกแล้วจะต้องเลือก กลุ่มย่อยของ External Package มาผูกอยู่กับ Package นั้น เมื่อผูกสำเร็จแล้ว Package ดังกล่าวจะใช้ Username และ Password จะ External Database เท่านั้น ไม่สามารถสร้าง Username เข้าไปเพิ่มได้ ไม่สามารถใช้ผูกกับวิธีการ Login ด้วยวิธีอื่นนอกจาก External Login ได้
หน้า Zone Create นี้มีไว้เพื่อสร้าง Zone ขึ้นมาใหม่ โดย Zone จะมีไว้เพื่อทำการรวม VLAN เป็นกลุ่ม และกำหนดให้ผู้ใช้งานแต่ละคนเห็นหรือใช้งาน Template ตามกลุ่มของ VLAN ที่ผู้ใช้งานใช้งานอยู่
วิธีเข้าหน้า Zone Create
หน้า Zone Create
รายละเอียดหน้า Zone Create
Zone Name: กำหนดชื่อของ Zone ที่ต้องการจะสร้าง
Member VLAN: เลือก VLAN ที่จะเป็นสมาชิกของ Zone นี้ ไม่สามารถเลือก VLAN ที่เป็นสมาชิกของ Zone อื่นแล้วได้
Description: กำหนดคำอธิบาย Zone
Template: เลือก Template ที่ต้องการให้ผู้ใช้งานเห็นเมื่อใช้งานผ่าน Zone นี้
หน้า Zone List นี้มีไว้เพื่อแสดง Zone ที่อยู่ในระบบ โดยสามารถแก้ไขข้อมูลต่างๆ ของ Zone ที่ถูกสร้างแล้ว หรือลบ Zone ที่มีอยู่ได้
วิธีเข้าหน้า Zone List
หน้า Zone List
รายละเอียดหน้า Zone List
หน้า Zone List แสดงตารางแสดงข้อมูล Zone ที่อยู่ในระบบ โดยข้อมูลในตาราง ดังนี้
Zone Name: แสดงชื่อของ Zone
Description: แสดงคำอธิบายของ Zone
VLAN: แสดง VLAN ID ที่เป็นสมาชิกของ Zone นี้
Template: แสดงชื่อ Template ที่ Zone นี้ผูกอยู่
Action: ปุ่มสำหรับจัดการ Zone นี้ มี 2 ปุ่มได้แก่ Edit Zone และ Zone Delete
เป็นหน้าที่แสดงขึ้นมาหลังจากกดปุ่ม Edit Zone สามารถใช้แก้ไขข้อมูล Zone ได้ รายละเอียดของหน้าเหมือนกับหน้า Zone Create
หน้า Zone Edit
หน้า VLAN Create มีไว้เพื่อสร้าง VLAN ขึ้นมาใหม่ โดย VLAN จะผูกไว้กับวง DHCP แบบหนึ่งต่อหนึ่ง เมื่อสร้าง VLAN ระบบจะสร้างวง DHCP ให้โดยอัตโนมัติ สามารถกำหนดจำนวน Static IP Address ได้ตอนสร้าง
วิธีเข้าหน้า VLAN Create
หน้า VLAN Create
รายละเอียดหน้า VLAN Create
หน้า VLAN Create แบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อย ดังนี้
Default Pool: เป็นการสร้าง VLAN ผูกกับ IP Pool ที่กำหนดไว้แล้วโดยระบบ มีส่วนประกอบย่อย ดังนี้
1.1 VLAN Name: กำหนดชื่อของ VLAN ที่ต้องการจะสร้าง
1.2 VLAN ID: เลือก VLAN ID ที่ต้องการจะสร้าง ไม่สามารถใช้ VLAN ID ซ้ำกับที่มีอยู่ในระบบแล้วได้
1.3 Pool Prefix: เลือกหมายเลขต้นของ IP ที่ต้องสร้างวง DHCP สามารถเลือกระหว่าง “10.200.X.X” กับ “172.16.X.X”
1.4 Pool Size: เลือกขนาดของวง DHCP ที่ต้องการจะสร้าง
1.5 Pool: เลือกวง DHCP ที่ต้องการสร้าง โดยวง DHCP ที่สามารถเลือกได้จะถูกกำหนดจาก Pool Prefix และ Pool Size
1.6 Reserve Number: จำนวนของ IP Address ในวง DHCP ที่ต้องการแยกไว้สำหรับใช้ทำ Static IP Address
1.7 Description: กำหนดคำอธิบาย VLAN
VLAN Create: Default Pool
2. Custom Pool: เป็นการสร้าง VLAN โดยผูกกับ IP Pool ตามที่ผู้ดูแลต้องการ มีส่วนประกอบย่อย ดังนี้
2.1 VLAN Name: กำหนดชื่อของ VLAN ที่ต้องการจะสร้าง
2.2 VLAN ID: เลือก VLAN ID ที่ต้องการจะสร้าง ไม่สามารถใช้ VLAN ID ซ้ำกับที่มีอยู่ในระบบแล้ว
2.3 Network: กำหนดวง IP สำหรับ DHCP แต่ไม่สามารถกำหนดอยู่ในวง 10.200.X.X หรือ 172.16.X.X ได้ (เนื่องจาก อาจจะไปรบกวนการทำงานของ Default Pool) และไม่สามารถตั้ง Network ซ้ำกับในฐานข้อมูลได้
2.4 Server IP: กำหนด IP Address ของ Server สำหรับแจก DHCP ต้องอยู่ในวง Network ที่เลือก
2.5 Prefix: กำหนดขนาดของ Netmask สำหรับวง DHCP
2.6 Subnet: Subnet ที่ได้จาก Prefix ระบบจะสร้างขึ้นมาอัตโนมัติ
2.7 First DHCP: กำหนด IP Address แรกที่ระบบสามารถแจกในบริการ DHCP
2.8 Last DHCP: กำหนด IP Address สุดท้ายที่ระบบสามารถแจกในบริการ DHCP
2.9 Reserve Number: กำหนดจำนวน IP Address ที่กันไว้ไม่ให้แจก DHCP
2.10 Description: กำหนดคำอธิบาย VLAN
VLAN Create: Custom Pool
หน้า VLAN List มีไว้เพื่อแสดง VLAN ที่อยู่ในระบบ โดยสามารถแก้ไขข้อมูล VLAN ที่สร้างไว้แล้ว จัดการตั้งค่า Static IP Address หรือลบ VLAN ที่สร้างไว้แล้วได้
วิธีเข้าหน้า VLAN List
หน้า VLAN List
รายละเอียดหน้า VLAN List
หน้า VLAN List แสดงตารางแสดงข้อมูล VLAN ที่อยู่ในระบบ โดยข้อมูลในตาราง ดังนี้
VLAN ID: แสดง VLAN ID
VLAN Name: แสดงชื่อของ VLAN ที่เราตั้ง
Description: แสดงคำอธิบายของ VLAN
Pool: แสดงวง DHCP ที่ VLAN นี้ผูกอยู่
Reserve IP: แสดงจำนวน Static IP ที่ตั้งค่าไว้ และจำนวน IP Address สูงสุดที่ตั้งค่าได้
Action: ปุ่มสำหรับจัดการ VLAN มี 2 ปุ่มได้แก่ Edit & Configure Static IP และปุ่ม VLAN Delete
หน้า VLAN Edit เป็นหน้าที่แสดงขึ้นมาหลังจากกดปุ่ม Edit & Configure Static IP ในหน้านี้จะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ ได้แก่ ส่วน VLAN Edit และ ส่วน Configure Static IP
หน้า VLAN Edit
ในส่วนของ VLAN Edit จะสามารถแก้ไขได้เฉพาะ VLAN Name และ VLAN Description เท่านั้น ไม่สามารถแก้ไข VLAN ID และ Pool ได้
VLAN Edit ส่วน VLAN Edit
ในส่วนของ Static IP Configuration จะแสดง IP Address ที่กันเอาไว้สำหรับตั้ง Static IP โดยเมื่อต้องการตั้งค่าให้กรอก MAC Address [ Format xx:xx:xx:xx:xx:xx ] และ Hostname ของอุปกรณ์ที่ต้องการให้รับ IP นี้ แล้วกดปุ่ม Save MAC Address หากต้องการนำอุปกรณ์ออกจากการตั้งค่าให้กดปุ่ม Clear MAC Address
VLAN Edit ส่วน Static IP Configuration
หน้า Template Create เป็นหน้าสำหรับสร้าง Template ขึ้นมาใหม่ โดย Template จะเป็นตัวกำหนดหน้าต่างสำหรับเข้าสู่ระบบเมื่อผู้ใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตทำการเชื่อมต่อกับระบบ
วิธีเข้าหน้า Template Create
หน้า Template Create
ในการสร้าง Template จะมีขั้นตอนย่อยทั้งหมด 6 ขั้นตอน แยกออกมาเป็นหน้าย่อย ดังนี้
General
ในส่วน General จะใช้สำหรับแก้ไขข้อความ ปุ่ม และภาพต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ในการเข้าสู่ระบบ มีทั้งหมด 3 ส่วนย่อย
Template Create: General
General Information: จัดการส่วนข้อความ สี รูปภาพ ปุ่มต่าง ๆ ในหน้าต่างเข้าสู่ระบบ
1.1 Template Name: ตั้งชื่อ Template นี้ (ไม่มีผลต่อหน้าเข้าสู่ระบบ)
1.2 Template Description: ตั้งคำอธิบาย Template นี้ (ไม่มีผลต่อหน้าเข้าสู่ระบบ)
1.3 Logo Image: เลือก Upload รูปสำหรับใช้เป็น Logo จากคอมพิวเตอร์ รองรับไฟล์สกุล jpg, png, JPG, PNG ขนาดสูงสุด 500KB
1.4 Background Image: เลือก Upload รูปสำหรับใช้เป็นพื้นหลังจากคอมพิวเตอร์ รองรับไฟล์สกุล jpg, png, JPG, PNG ขนาดสูงสุด 500KB
1.5 Title Prefix: ตั้งชื่อหน้าต่างเข้าสู่ระบบ
1.6 Logo Width: เลือกขนาดความกว้างของ Logo ที่จะแสดง
1.7 Logo Height: เลือกขนาดความสูงของ Logo ที่จะแสดง
1.8 Button Color: เลือกสีของปุ่มในหน้าต่างเข้าสู่ระบบ
1.9 Button Text Color: เลือกสีตัวอักษรบนปุ่มในหน้าต่างเข้าสู่ระบบ
1.10 Form Border Color: เลือกสีของขอบช่องกรอกข้อมูล
1.11 Form Hover Border Color: เลือกสีของขอบช่องกรอกข้อมูลเมื่อถูกเลือก
1.12 Text Color: เลือกสีของตัวอักษรในหน้าต่างเข้าสู่ระบบ
1.13 Background Form Color: เลือกสีของขอบกล่องข้อความ
1.14 Redirect Type: เลือกการทำงานหลังจากเข้าสู่ระบบสำเร็จ
1.14.1 Count Down: แสดงหน้าต่างอยู่ในระบบ แสดงเวลาที่ได้รับ หรือนับเวลาหลังจากเข้าสู่ระบบ
1.14.2 Redirect Page: แสดงหน้าต่างตาม URL ที่กำหนดให้
1.15 Enable Term and Condition: เลือกเปิดใช้งานช่อง Accept Term & Condition ผู้ใช้งานจะต้องกดปุ่มยอมรับ Term และ Condition ก่อนจะเข้าสู่ระบบ
1.16 Enable Change Password: เลือกเปิดใช้งานปุ่มสำหรับเข้าไปยังหน้าเปลี่ยน Password เมื่อเปิดใช้งานแล้วผู้ใช้งานจะสามารถเปลี่ยน Password ด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องติดต่อผู้ดูแลระบบ
1.17 Enable Check Quota: เลือกเปิดใช้งานปุ่มสำหรับเข้าไปยังหน้าตรวจสอบเวลาคงเหลือ เมื่อเปิดใช้งานแล้วผู้ใช้งานจะสามารถตรวจเวลาคงเหลือของตัวเองได้โดยไม่ต้องติดต่อผู้ดูแลระบบ
1.18 Enable Device Management: เลือกเปิดใช้งานหน้าตรวจสอบการใช้งาน Username เมื่อเปิดใช้งานแล้ว ผู้ใช้งานจะสามารถตรวจสอบการใช้งาน Username ของตัวเองได้โดยไม่ต้องติดต่อผู้ดูแลระบบ
19 Enable Accept Personal Data Sharing เลือกเปิดใช้งานให้อนุญาติสำหรับนำข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดเก็บให้สามารถนำไปใช้งานทางการตลาดได้
Tabs Order: จัดการลำดับในการแสดงวิธีการ Login โดยสามารถลากกล่องวิธีการเข้าสู่ระบบสลับซ้ายหรือขวา เพื่อสร้างลำดับการแสดงวิธีการ Login ตามที่จัดไว้
Configuration Language: จัดการเปิดปิดจำนวนภาษา และตั้งค่าคำโปรยภาษาต่าง ๆ
3.1 Language: เลือกชื่อภาษา โดยระบบจะมี ตัวเลือกภาษา, คำอธิบายช่องกรอกข้อมูล, Error Message ตามภาษานั้นๆ ให้
3.2 Title Text: กำหนดคำโปรยในส่วน Title
3.3 Header Text: กำหนดคำโปรยในส่วน Header
3.4 Footer Text: กำหนดคำโปรยในส่วน Footer
3.5 Term and Condition: กำหนด Term & Condition
ตัวอย่างตำแหน่งการจัดวางคำโปรยบน Desktop
ตัวอย่างตำแหน่งการจัดวางคำโปรยบน Mobile
Internal Login
ในส่วนของ Internal Login จะใช้สำหรับจัดการ การเข้าสู่ระบบด้วย Username และ Password ที่ถูกสร้างในระบบ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
Template Create: Internal Login
Internal Login: เลือกที่จะแสดงหรือซ่อนแถบ Internal Login หากกำหนด Enable เป็น OFF ผู้ใช้งานจะไม่เห็นกรอบสำหรับเข้าใช้งานด้วย Username และ Password ของระบบ
Configuration Language: ใช้กำหนดค่าต่างๆ ที่แตกต่างกันตามภาษาที่แสดงอยู่
2.1 Tab Name: กำหนดชื่อวิธีการ Login
Other Configuration: สำหรับ Internal Login จะมีแค่เลือก Package ที่ใช้งานได้ หากผู้ใช้งานใช้ Username จาก Package ที่ไม่ได้รับอนุญาตจะไม่สามารถใช้ Username นั้นเข้าสู่ระบบได้
3.1 Allow Package: หากเลือกเป็น All ทุก Username จะสามารถใช้งานเข้าสู่ระบบได้ แต่หากเลือกเป็น Specific แล้ว จะสามารถใช้งานเข้าสู่ระบบได้เฉพาะ Username ที่อยู่ใน Package ที่กำหนดไว้ด้านล่างเท่านั้น
3.2 Package: ใช้เลือก Package ที่อนุญาตให้เข้าสู่ระบบได้ โดยจะสามารถเลือกได้เฉพาะ Package แบบ Internal สามารถเลือก Package ได้มากกว่าหนึ่ง Package
ตัวอย่างอนุญาตทุก Package
ตัวอย่างอนุญาตบาง Package
External Login
ในส่วนของ External Login จะใช้สำหรับจัดการการเข้าสู่ระบบด้วย Username และ Password จากฐานข้อมูลอื่น แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
Template Create: External Package
- External Login: เลือกที่จะแสดงหรือซ่อนแถบ External Login หากกำหนด Enable เป็น OFF ผู้ใช้งานจะไม่เห็นกรอบสำหรับเข้าใช้งานด้วย Username และ Password ของฐานข้อมูลภายนอก
- Configuration Language: ใช้กำหนดค่าต่าง ๆ ที่แตกต่างกันตามภาษาที่แสดงอยู่
1. Tab Name: กำหนดชื่อวิธีการ Login
- Other Configuration: สำหรับ External Login จะมีแค่เลือก Package ที่ใช้งานได้ หากผู้ใช้งานใช้ Username จาก Package ที่ไม่ได้รับอนุญาตจะไม่สามารถใช้ Username นั้นเข้าสู่ระบบได้
2. Allow Package: หากเลือกเป็น All ทุก Username จะสามารถใช้งานเข้าสู่ระบบได้ แต่หากเลือกเป็น Specific แล้ว จะสามารถใช้งานเข้าสู่ระบบได้เฉพาะ Username ที่อยู่ใน Package ที่กำหนดไว้ด้านล่างเท่านั้น
3. Package: ใช้เลือก Package ที่อนุญาตให้เข้าสู่ระบบได้ โดยจะสามารถเลือกได้เฉพาะ Package แบบ External สามารถเลือก Package ได้มากกว่าหนึ่ง Package
ตัวอย่างอนุญาตทุก Package
ตัวอย่างอนุญาตบาง Package
Self Register
ในส่วนของ Self Register ใช้สำหรับให้ผู้ใช้งานขอ Username และ Password สำหรับใช้งานโดยการกรอกข้อมูลส่วนตัวลงในแบบฟอร์มที่กำหนดให้ แบ่งได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้
Template Create: Self Register
Self Register: เลือกที่จะแสดงหรือซ่อนแถบ Self Register หากกำหนด Enable เป็น OFF ผู้ใช้งานจะไม่เห็นกรอบสำหรับกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อขอ Username และ Password
Configuration Language: ใช้กำหนดค่าต่าง ๆ ที่แตกต่างกันตามภาษาที่แสดงอยู่
2.1 Tab Name: กำหนดชื่อวิธีการ Login
2.2 Require Name & Lastname: กำหนดให้ผู้ใช้งานต้องกรอกชื่อและนามสกุลของตัวเอง
2.3 Require Birth Date: กำหนดให้ผู้ใช้งานต้องกรอกวันเกิดของตัวเอง
2.4 Require Gender: กำหนดให้ผู้ใช้งานต้องเลือกเพศของตัวเอง
2.5 Require Email: กำหนดให้ผู้ใช้งานต้องกรอกอีเมลของตัวเอง
2.6 Require Passport: กำหนดให้ผู้ใช้งานต้องกรอกหมายเลขหนังสือเดินทางของตัวเอง
2.7 Require Personal ID: กำหนดให้ผู้ใช้งานต้องกรอกหมายเลขประจำตัวประชาชนของประเทศไทยของตัวเอง
2.8 Require Tel No: กำหนดให้ผู้ใช้งานต้องกรอกหมายเลขโทรศัพท์ของตัวเอง
2.9 Custom: กำหนดช่องข้อมูลให้ผู้ใช้งานกรอกรข้อมูลส่วนตัวเพิ่ม โดยสามารถกำหนดแถบคำอธิบายเองได้ ว่าต้องการให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลอะไร สามารถเปิดได้สูงสุด 3 ช่อง
Other Configuration: สำหรับ Self Register จะสามารถกำหนดได้ว่าเมื่อผู้ใช้งานกรอกข้อมูลครบแล้ว จะสร้าง Username ให้ผู้ใช้งานลงใน Package ใดในระบบ และสามารถเลือกได้ว่าเมื่อลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการอย่างไรต่อ
3.1 Package: ใช้เลือก Package ที่ต้องการสร้าง Username เข้าไปหลังจากผู้ใช้งานกรอกข้อมูลครบ สามารถเลือกได้แค่ Package แบบ Internal
3.2 After Register: ใช้กำหนดว่าหลังจากลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะดำเนินการอย่างไรต่อ
3.2.1 Auto Login: ให้ผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบด้วย Username ที่สร้างสำเร็จในทันที โดยไม่ต้องแสดงหรือส่งข้อมูล Username และ Password ให้ลูกค้า
3.2.2 Sent via SMS: ส่งข้อมูล Username และ Password ให้ลูกค้าทาง SMS ตามข้อมูลที่ลูกค้ากรอก (หากเลือกวิธีนี้จะบังคับให้ลูกค้ากรอกหมายเลขโทรศัพท์) โดยลูกค้าต้องกรอกข้อมูล Username และ Password ด้วยตัวเองจึงจะสามารถเข้าสู่ระบบได้
3.2.3 Sent via Email: ส่งข้อมูล Username และ Password ให้ลูกค้าทาง Email ตามข้อมูลที่ลูกค้ากรอก (หากเลือกวิธีนี้จะบังคับให้ลูกค้ากรอก Email) โดยลูกค้าต้องกรอกข้อมูล Username และ Password ด้วยตัวเองจึงจะเข้าสู่ระบบสำเร็จ (ระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้งานเข้าระบบได้ชั่วคราวเป็นเวลา 5 นาทีเพื่อทำการเปิด Email)
Social Login
ในส่วนของ Social Login ใช้สำหรับให้ผู้ใช้งานขอ Username และ Password สำหรับใช้งานโดยการเชื่อมต่อระบบผ่านชื่อผู้ใช้งานบน Application อื่น เมื่อเชื่อมต่อแล้วระบบจะทำการดึงข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มนั้น แล้วใช้สร้างชื่อผู้ใช้งานให้ เมื่อสร้างเสร็จจะทำการใช้ชื่อผู้ใช้งานที่สร้างสำเร็จเข้าสู่ระบบทันที แบ่งได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้
Template Create: Social Login
Social Login: เลือกที่จะแสดงหรือซ่อนแถบ Self Register หากกำหนด Enable เป็น OFF ผู้ใช้งานจะไม่เห็นกรอบสำหรับกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อขอ Username และ Password
Configuration Language: ใช้กำหนดค่าต่างๆ ที่แตกต่างกันตามภาษาที่แสดงอยู่
2.1 Tab Name: กำหนดชื่อวิธีการ Login
Allow Social Application: เลือกที่จะแสดงปุ่มเชื่อมต่อผ่าน Application อะไรบ้าง หากเลือกที่จะแสดงแล้วต้องเลือกด้วยว่าเมื่อผู้ใช้งานเชื่อมต่อกับ Application เป้าหมายแล้ว จะสร้าง Username และ Password ลงใน Package ใดในระบบ
Review
ในส่วนของ Review จะเป็นการแสดงข้อมูลที่ถูกตั้งค่ามาในหน้าก่อนๆ เพื่อให้ตรวจสอบหรือตรวจทานความถูกต้อง
Template Create: Review
Template Create: Review
หน้า Template List มีไว้เพื่อแสดง Template ที่อยู่ในระบบ โดยสามารถแก้ไขข้อมูล Template ที่สร้างไว้แล้ว แสดงตัวอย่างหน้า Login หรือลบข้อมูล Template
วิธีเข้าหน้า Template List
หน้า Template List
รายละเอียดหน้า Template List
หน้า Template List แสดงตารางแสดงข้อมูล Template ที่อยู่ในระบบ โดยข้อมูลในตารางมีดังนี้
Template Name: แสดงชื่อของ Template
Template Description: แสดงคำอธิบายของ Template
Type Login: แสดงการเปิดใช้งานวิธีการ Login แบบต่างๆ โดยวิธีการที่เปิดใช้งานจะมีสีเขียว ส่วนวิธีที่ปิดการใช้งานจะมีสีเทา
Type Login: Enable Type Login: Disable
4. Preview: มีปุ่มสำหรับเปิดหน้าเข้าสู่ระบบตัวอย่างโดยสามารถเปิดได้ทั้งแบบตัวอย่างบน Desktop และตัวอย่างบน Mobile
Preview: ปุ่ม Desktop Mode ปุ่ม Preview Mobile/Tablet Mode
Preview: Desktop Mode
Preview: Mobile Mode
5. Action: ปุ่มสำหรับจัดการ Template มี 3 แบบได้แก่ Template View, Template Edit และ Template Delete โดย Default Template จะมีเฉพาะ Template View ส่วน Template อื่น ๆ จะมี Template Edit และ Template Delete Template View เป็นปุ่มพิเศษเฉพาะ Default Template เมื่อกดจะแสดงหน้า Template Edit แต่ไม่สามารถกด Save ได้
เป็นหน้าที่แสดงขึ้นมาหลังกดปุ่ม Template Edit สามารถใช้แก้ไขข้อมูลของ Template ได้ รายละเอียดการทำงานของหน้าคล้าย Template Create แต่การบันทึกข้อมูลต้องทำในแต่หน้าย่อย ไม่สามารถแก้ไขหลายๆ หน้าแล้วกดปุ่มบันทึกทีเดียวได้
หน้า Template Edit
หน้า Package Create มีไว้เพื่อสร้าง Package ขึ้นมาใหม่ โดยแต่ละ Package จะใช้สำหรับกำหนดค่าต่างๆ ในการใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตของ Username ที่เป็นสมาชิกของ Package นั้นๆ
วิธีเข้าหน้า Package Create
หน้า Package Create
ในการสร้าง Package จะมีขั้นตอนย่อยทั้งหมด 5 ขั้นตอน แยกออกมาเป็นหน้าย่อย ดังนี้
General
ในส่วน General จะใช้สำหรับกำหนดชื่อและคำอธิบายของ Package รวมทั้งกำหนดด้วยว่า Package ที่จะสร้างเป็นแบบ Internal หรือ External
Package Create: General
General Info: จัดการข้อมูลของ Package
1.1 Package Name: ตั้งชื่อ Package นี้
1.2 Package Description: ตั้งคำอธิบาย Package นี้
1.3 Authentication Type: เลือกประเภทของ Package โดยเมื่อสร้างแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนได้
1.3.1 Internal: Internal Package คือ Package ทั่วไป สามารถสร้าง Username จากระบบได้
1.3.2 External: External Package คือ Package ที่ผูกอยู่กับกลุ่มย่อยของ External Database โดยไม่สามารถสร้าง Username เข้าไปใน Package แบบ External ผ่านระบบได้ แต่จะใช้ Username และ Password จากกลุ่มย่อยที่ผูกอยู่ โดยเมื่อทำการกรอก Username และ Password ระบบจะทำการตรวจสอบ Username ใน External Database หาก Username นั้นถูกตรวจพบ ระบบจะทำการตรวจสอบว่า Username นั้นเป็นสมาชิกของกลุ่มย่อยอะไรบ้าง และกลุ่มย่อยเหล่านั้นถูกผูกอยู่กับ Package ในระบบหรือไม่ หากพบ Package ที่ผูกไว้ก็จะอนุญาตให้ผู้ใช้ใช้งานระบบโดยได้รับเงื่อนไขใช้งานตาม Package ที่ผูกไว้
Speed
ในส่วน Speed จะใช้สำหรับกำหนดความเร็วสูงสุดในการใช้งานของผู้ใช้งานแต่ละคน
Package Create: Speed
- Speed Limit: เลือกกำหนดความเร็วสูงสุดที่ผู้ใช้งานแต่ละคนใน Package จะได้รับ
- Unlimited Speed: ไม่จำกัดความเร็วสูงสุด ผู้ใช้งานสามารถใช้ความเร็วเท่าที่อุปกรณ์จะสามารถทำงานได้
- Limited Speed: จำกัดความเร็วสูงสุดแก่ผู้ใช้งานแต่ละคน สามารถกำหนดเพดานความเร็วของการ Download, Upload ข้อมูลแยกกันได้ หน่วยการตั้งค่าคือ Mbps
Quota
ในส่วน Quota จะใช้สำหรับกำหนดขอบเขตการใช้งานด้านเวลาและปริมาณข้อมูลสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคน
Package Create: Quota
- Time Quota: เลือกกำหนดระยะเวลาที่ผู้ใช้งานสามารถอยู่ในระบบได้
- Unlimited Time Quota: ไม่จำกัดระยะเวลาที่อยู่ในระบบ
- Limited Time Quota: จำกัดเวลาที่สามารถอยู่ในระบบได้ (เมื่อออกจากระบบเวลาที่นับจะหยุด และนับใหม่เมื่อเข้าสู่ระบบ)
- Auto Reset Period: กำหนดให้มีการนับเวลาการใช้งานใหม่ โดยสามารถกำหนดจำนวนวันในแต่ละรอบได้ เช่น กำหนดไว้หนึ่งวัน เมื่อครบหนึ่งวัน เวลาที่เคยใช้งานจะกลายเป็นศูนย์
- Expire After Login: เลือกกำหนดเวลาหมดอายุของ Account หลังจากมีการเปิดใช้งาน
- No Expire: ไม่มีเวลาหมดอายุ
- Expire by Passing Time: หมดอายุเมื่อครบเวลาตามที่กำหนดนับทันทีหลังจากการ Login ครั้งแรก
- Expire by Specific Time: หมดเวลาเมื่อถึงเวลาที่กำหนด โดยสามารถกำหนดได้ว่าจะให้หมดเวลาในวันไหนเวลาใด หลังจากการ Login ครั้งแรก
ตัวอย่าง 1
ตั้งค่าให้หลังจาก Login แล้ว Account จะหมดอายุเมื่อถึงเวลาตีหนึ่งของวันถัดไป
Package Create: Quota ตัวอย่าง 1
ตัวอย่าง 2
ตั้งค่าให้หลังจาก Login แล้ว Account จะหมดอายุเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนของวันที่สามหลังจาก Login
Package Create: Quota ตัวอย่าง 2
- Data Volume Quota: เลือกกำหนดข้อจำกัดในการรับส่งข้อมูล
- Unlimited Data Volume Quota: ไม่จำกัดปริมาณการรับส่งข้อมูล
- Limited Data Volume Quota: จำกัดปริมาณการรับส่งข้อมูล โดยตั้งขอบเขตการรับหรือส่งข้อมูล หน่วย GB
- Auto Reset Period: กำหนดให้มีการนับปริมาณการรับส่งข้อมูลใหม่ โดยสามารถกำหนดจำนวนวันในแต่ละรอบได้ เช่น กำหนดไว้หนึ่งวัน เมื่อครบหนึ่งวัน ปริมาณการรับส่งข้อมูลที่เคยใช้จะกลายเป็นศูนย์
- After Out of Data Quota: ตั้งค่าการจัดการเมื่อผู้ใช้งานรับส่งข้อมูลจนครบกำหนด สามารถตั้งค่าได้สองแบบ
- Disable Account: เมื่อผู้ใช้งานรับส่งข้อมูลครบกำหนด Account นั้นจะไม่สามารถใช้งานได้อีก จนกว่าจะครบกำหนด Auto Reset Period หรือผู้ดูแลระบบจัดการให้
- Reduce Speed: เมื่อผู้ใช้งานรับส่งข้อมูลครบกำหนด Account นั้นจะยังสามารถใช้งานได้อยู่ แต่จะถูกปรับ Speed ลงโดยสามารถตั้งค่าได้ว่าเมื่อครบกำหนดแล้ว ผู้ใช้งานจะได้ Speed ใหม่เป็นเท่าไหร่
Other
ในส่วนของ Other จะเป็นหน้าสำหรับตั้งค่าอื่นๆ ของ Package
Package Create: Other
- Time Out: ตั้งค่าการตัดออกจากระบบ
- Idle Timeout: ตั้งค่าการตัดออกจากระบบเมื่อไม่มีการใช้งาน เมื่อผู้ใช้งานในระบบไม่มีการใช้งานครบกำหนดเวลาที่ตั้งค่าไว้แล้ว ระบบจะตัดผู้ใช้งานดังกล่าวออกจากระบบ ใช้เพื่อตัดผู้ใช้งานที่ออกนอกพื้นที่ให้บริการโดยไม่ได้กดออกจากระบบก่อน
- Session Timeout: ตั้งค่าการตัดออกจากระบบเมื่ออยู่ในระบบนานเกินไป เมื่อผู้ใช้งานอยู่ในระบบครบกำหนดเวลาที่ตั้งค่าไว้แล้ว ระบบจะตัดผู้ใช้งานออกจากระบบ ใช้เพื่อจำกัดระยะเวลาสูงสุดในการอยู่ในระบบในแต่ละครั้ง
- Other: ตั้งค่าอื่นๆ ของ Package
- Bypass Authentication: เลือกเปิดหรือปิดการใช้งาน Bypass Authentication โดยหากเปิดการใช้งานแล้ว ผู้ใช้งานสามารถเลือกให้อุปกรณ์จดจำ Username และ Password ได้ หากเลือกที่จะจดจำไว้แล้ว เมื่อมีการเปิดหน้าเข้าสู่ระบบครั้งถัดไป ระบบจะทำการเชื่อมต่อโดยใช้ Username และ Password ที่จดจำไว้โดยอัตโนมัติ
- Maximum Online Device: กำหนดจำนวนการใช้งานพร้อมกันสูงสุดในแต่ละ Username เช่นหากตั้งไว้สอง ผู้ใช้งานจะสามารถใช้โทรศัพท์สองเครื่องเข้าสู่ระบบด้วย Username เดียวในขณะเดียวกัน หากมีการพยายามเข้าสู่ระบบด้วยอุปกรณ์เครื่องที่สาม ระบบจะแสดงรายชื่ออุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ ให้ผู้ใช้งานเลือกตัดอุปกรณ์อื่นออกจากระบบเพื่อที่จะใช้เชื่อมต่อระบบแทนได้ (Package ที่ตั้งค่า Time Quota ไว้ไม่สามารถกำหนด Maximum Online Device ได้)
- Require More Information: เลือกเปิดหรือปิดการตรวจข้อมูลผู้ใช้งาน หากเปิดไว้เมื่อมีการ Login หาก Username นั้นยังมีข้อมูลที่ต้องการไม่ครบ ระบบจะแสดงแบบฟอร์มให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลเพิ่มก่อน สามารถแก้ไขข้อมูลที่ต้องการได้ที่หน้า Require Information
- Price: ตั้งราคาของ Package
Review
ในส่วนของหน้า Review จะเป็นการแสดงข้อมูล Package ที่กำลังจะสร้างเพื่อให้ผู้ดูแลระบบตรวจทาน หรือตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนสร้าง
Package Create: Review
หน้า Package List มีไว้เพื่อแสดง Package ที่อยู่ในระบบ โดยสามารถแก้ไขข้อมูล Package ที่สร้างไว้แล้ว หรือลบข้อมูล Package ออกจากระบบได้
วิธีเข้าหน้า Package List
หน้า Package List
รายละเอียดหน้า Package List
หน้า Package List แสดงตารางข้อมูล Package ที่อยู่ในระบบ โดยข้อมูลในตารางมีดังนี้
Package Name: แสดงชื่อของ Package
Description: แสดงคำอธิบายของ Package
Package Type: แสดงประเภทของ Package มี 2 แบบคือ Internal และ External
Setting: แสดงการตั้งค่าโดยใช้สัญลักษณ์
4.1 Setting Speed: แสดงว่า Package มีการตั้ง Limited Speed หรือไม่
Setting: Limited Speed Setting: Unlimited Speed
4.2 Setting Time Quota: แสดงว่า Package มีการตั้ง Time Quota หรือไม่
Setting: Unlimited Time Quota Setting: Limited Time Quota
4.3 Setting Expire After Login: แสดงว่า Package มีการตั้ง Expire After Login หรือไม่
Setting: Expire After Login Setting: No Expire After Login
4.4 Setting Data Quota: แสดงว่า Package มีการตั้ง Data Quota หรือไม่
Setting: Unlimited Data Quota Setting: Limited Data Quota
4.5 Setting Bypass: แสดงว่า Package มีการเปิดใช้งาน Bypass Authentication หรือไม่
Setting: Enable Bypass Setting: Disable Bypass
4.6 Setting Require Information: แสดงว่า Package มีการเปิดใช้งาน More Information หรือไม่
Setting: Enable Require More Information Setting Disable Require More Information
5. Action: ปุ่มสำหรับจัดการ Package ได้แก่ Package View, Package Edit และ Package Delete โดย Default Package จะมีเฉพาะ Package View ส่วน Package อื่นๆจะมี Package Edit และ Package Delete Package View เป็นปุ่มพิเศษเฉพาะ Default Package เมื่อกดจะแสดงหน้า Package Edit แต่ไม่สามารถกด Save ได้
เป็นหน้าที่แสดงขึ้นมาหลังกดปุ่ม Package Edit สามารถใช้แก้ไขข้อมูลของ Package ได้ มีทั้งหมด 5 หน้าย่อย ดังนี้
General
1.1 Package Name: แก้ไขข้อมูลชื่อของ Package
1.2 Package Description: แก้ไขข้อมูลคำอธิบายของ Package
1.3 Authentication Type: แสดงประเภทของ Package ไม่สามารถแก้ไขได้
1.3.1 Member: แก้ไขกลุ่มย่อยของ External Database ที่ผูกอยู่ มีเฉพาะ Package แบบ External
Package Edit: General [Internal Package]
Package Edit: General [External Package]
2. Speed
2.1 Select Speed Limit: เลือกจำกัด Speed ผู้ใช้งานหรือไม่
2.1.1 Upload Speed: กำหนดความเร็ว Upload สูงสุด
2.1.2 Download Speed: กำหนดความเร็ว Download สูงสุด
Package Edit: Speed
3. Quota: หน้านี้จะแสดงข้อมูล Time Quota, Expire After Login, Data Volume Quota โดยข้อมูลทั้งหมดในหน้านี้ไม่สามารถแก้ไขได้
Package Edit: Quota
4. Other
4.1 Idle Timeout: ตั้งค่าการตัดออกจากระบบเมื่อไม่มีการใช้งาน
4.2 Session Timeout: ตั้งค่าการตัดออกจากระบบเมื่ออยู่ในระบบนานเกินไป
4.3 Bypass Authentication: แสดงการเปิดหรือปิดการใช้งาน Bypass ไม่สามารถแก้ไขได้
4.4 Maximum Online Device: ตั้งค่าจำนวนการใช้งานสูงสุด (Package ที่ตั้งค่า Time Quota ไว้ไม่สามารถกำหนด Maximum Online Device ได้)
4.4.1 New User Only: กำหนดตั้งค่าจำนวนการใช้งานสูงสุดนี้ จะไม่มีผลต่อ Username ที่สร้างก่อนหน้า จะมีผลต่อ Username ที่สร้างใหม่เท่านั้น
4.4.2 All User: การกำหนดตั้งค่าจำนวนการใช้งานสูงสุดนี้จะมีผลต่อ Username ที่สร้างไว้แล้วด้วย
4.5 Require More Information: ตั้งค่าการตรวจข้อมูลผู้ใช้งาน
4.6 Price: ตั้งราคาของ Package
Package Edit: Other
5. Usage: ในหน้านี้จะแสดงข้อมูลว่า Package นี้สามารถใช้ หรือถูกใช้ (ในกรณีของ Self Register และ Social Login) ในการ Login แบบใดใน Template ใดบ้าง โดยหาก Username จาก Package นี้สามารถใช้งานได้ หรือถูกใช้ จะมีสัญลักษณ์รูปเครื่องหมาย แสดงอยู่ หากต้องการแก้ไขต้องไปแก้ไขในหน้า Template Edit ซึ่งสามารถเข้าไปได้โดยกดชื่อ Template ที่ต้องการแก้ไขในตาราง
Package Edit: Usage
หน้า Require Information ใช้ในการกำหนดข้อมูลที่ต้องการขอจากผู้ใช้งาน ก่อนที่ผู้ใช้งานจะสามารถเข้าสู่ระบบได้ โดยการจะบังคับให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลเหล่านี้ ต้องไปเปิด Require More Information ใน Package Edit ก่อน
วิธีเข้าหน้า Require Information
หน้า Require Information
รายละเอียดหน้า Require More Information
ในหน้า Require Information นี้จะมีเพียงปุ่มให้เลือกว่าจะบังคับให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลใดบ้างก่อนเข้าสู่ระบบ
ตัวอย่างหน้าขอข้อมูลเพิ่มจากผู้ใช้งาน
หน้าขอข้อมูลเพิ่มจากผู้ใช้งาน